วันจันทร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2560

Learning Log 5

Learning Log 5


Learning Log  5
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 5 กันยายน 2560

Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
เล่นเกมคำคล้องจอง โดยคนเริ่มต้นต้องพูดคำ 1 คำ จะพูดภาษาไทยหรืออังกฤษก่อนก็ได้ ถ้าพูดภาษาไทย คำต่อไปต้องเป็นภาษาอังกฤษ แล้วคิดคำใหม่ขึ้นมาอีก 1 คำ ต่อคำเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนถึงคนสุดท้าย
ตัวอย่าง     nose  post  มด  รถ  cat  fat  ผีเสื้อ  เรือ  tree  ปี  love  serve  แก้ว เป็นต้น


รอบที่สอง เป็นเกมคำคล้องจองเช่นเดิม แต่เมื่อคิดคำภาษาไทยได้ จะต้องต่อท้ายด้วยคำภาษาอังกฤษ คำต่อไปก็ต้องหาเสียงที่พ้องกับคำข้างหน้า ต่อคำเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนถึงคนสุดท้าย
ตัวอย่าง ดอกไม้  flower  เธอ  you  ปู  crab  map  แผนที่  ผี  ghost  โสด  single  girl  เด็กผู้หญิง เป็นต้น
อาจารย์มอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่ม หานักทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการด้านสติปัญญาสำหรับเด็กปฐมวัย โดยแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์ และกลุ่มทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ 

ทฤษฎีของ เพียเจต์
จอห์น เพียเจต์ (พ.ศ. 2439 – 2523) Jean Piaget (ค.ศ.1896 – 1980) ผู้สร้างทฤษฎีพัฒนาการเชาวน์ปัญญา                เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับ พัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญาซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่าสามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว   อย่างไรก็ตามเพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น             
 เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม


ทฤษฎีของบลูเนอร์

       บรูเนอร์ (Bruner, 1956)   เป็นนักจิตวิทยาในยุคใหม่  ชาวอเมริกันคนแรกที่สืบสานความคิดของเพียเจต์ โดยเชื่อว่าพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากกระบวนการภายในอินทรีย์ (Organism) เน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่แวดล้อมเด็ก ซึ่งจะพัฒนาได้ดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก และชี้ให้เห็นว่าการศึกษาว่าเด็กเรียนรู้อย่างไร ควรศึกษาตัวเด็กในชั้นเรียนไม่ควรใช้หนูและนกพิราบ ทฤษฎีของบรูเนอร์เน้นหลักการ กระบวนการคิด ซึ่งประกอบด้วย ลักษณะ ข้อ คือ

                             1   แรงจูงใจ (Motivation) 

                             2.  โครงสร้าง (Structure) 

                             3.   ลำดับขั้นความต่อเนื่อง (Sequence) 

                             4.   การเสริมแรง (Reinforcement)
สำหรับในหลักการที่เป็นโครงสร้างของความรู้ของมนุษย์ บรูเนอร์แบ่งขั้นพัฒนาการคิดในการเรียนรู้ของมนุษย์ออกเป็น ขั้นด้วยกัน   ซึ่งคล้ายคลึงกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ได้แก่
         1. ขั้นการกระทำ (Enactive Stage) เด็กเรียนรู้จากการกระทำและการสัมผัส         2. ขั้นคิดจินตนาการหรือสร้างมโนภาพ (Piconic Stage) เด็กเกิดความคิดจากการรับรู้ตามความเป็นจริง และการคิดจากจินตนาการด้วย         3. ขั้นใช้สัญลักษณ์และคิดรวบยอด (Symbolic Stage) เด็กเริ่มเข้าใจเรียนรู้ความ สัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และพัฒนาความคิดรวบยอด เกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็น แนวทางในการจัดการเรียนการสอน
       บรูเนอร์ได้กล่าวถึงทฤษฎีในการจัดการเรียนการสอนว่าควรประกอบด้วยลักษณะสำคัญ  4 ประการ คือ
1  ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจภายใน มีความอยากรู้ อยากเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว
2  โครงสร้างของบทเรียนซึ่งต้องจัดให้เหมาะสมกับผู้เรียน
3  การจัดลำดับความยาก-ง่ายของบทเรียนโดยคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน
4  การเสริมแรงของผู้เรียน
บรูเนอร์สรุปว่า  คนทุกคนจะมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ  โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า  acting, imaging และ symbolizing   เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต  มิใช่ว่าเกิดขึ้นเพียงช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะแรกๆของชีวิตเท่านั้น





The Knowledge gained


                                                                   Rhyming game


How to play
                First  people says 1 word you  can say Thai or English it’s up to you ,If first  word is Thai next  word must be English  and  think new word ,do that till the last one
Example nose post  มด รถ cat fat ผีเสื้อ เรือ tree ปี love surf แก้ว
Second time
                 Think Thai word and translate into English next word must be homophone  with the word forward do that till the last one
Example ดอกไม้ flower เธอ you ปู crab map แผนที่ ผี ghost โสด single girl  เด็กผู้หญิง sing ร้องเพลง เก่ง good food อาหาร

              This  Rhyming game you can adapt it as an activity for children to develop intellect by thinking and creative other words ,so these things become children'systematic thinking process  in the future


Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)
 ทฤษฎีของบรูเนอร์กับทฤษฎีของเพียเจย์เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย โดยทั้งสองทฤษฎีได้พูดถึงการใช้ความคิดของเด็ก เด็กจะซึมซับประสบการณ์ต่างๆและเมื่อถึงเวลาที่ควรใช้ เด็กจะนำประสบการณ์เดิมที่ได้รับมาแตกเป็นประสบการณ์ใหม่ สมองของเด็กก็จะพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ

Adoption (การนำไปใช้)
สามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนกับเด็กได้อย่างเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็ก 

Assessment (การประเมิน)
ตนเอง: มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับกลุ่ม
อาจารย์: อธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมจากที่เพื่อนนำเสนอ
บรรยากาศ: ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม และตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ


Vocabulary (คำศัพท์)
ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ = Enactive Stage
ขั้นจินตนาการ = Iconic Stage
ขั้นใช้สัญลักษณ์ = Symbolic Stage
การอนุรักษ์ = Conservation
ประสบการณ์ = Experienceการเสริมแรง = Reinforcement





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น