วันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560

Learning Log 8

Learning Log 8


Learning Log  8
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 3 ตุลาคม 2560

Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

               อาจารย์ได้ตรวจบล็อกของเพื่อนทุกคน พร้อมทั้งแนะนำข้อแก้ไข้และแนะนำว่าควรปรับปรุงตรงไหนบ้างรายบุคคล 

เพื่อนนำเสนอวิจัยเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยจุดมุ่งหมายของวิจัยนี้คือ เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และทำวิจัยกับเด็กอนุบาล 3 จำนวน 15 คน
   ทักษะที่ทำการวัดมีอยู่ด้วยกัน 4 ทักษะ โดยผ่านกิจกรรม "การเกิดสีของดอกไม้"
   ทักษะการสังเกต
         -ส่วนต่างๆของดอกไม้
   ทักษะการจำแนกประเภท
        - แยกประเภทของดอกไม้
   ทักษะการหามิติสัมพันธ์
        -บอกรูปร่าง รูปทรง และขนาดของดอกไม้ชนิดต่างๆได้
    ทักษะการลงความเห็นข้อมูล
        -สรุปผลการทดลองได้

 มิติสัมพันธ์คือ การหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งนั้นกับปัญหาที่เราตั้ง

งานวิจัยชิ้นนี้มีการออกแบบแบบประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิประเมินว่าแผนที่จัดขึ้นสอดคล้องกับการประเมินทักษะทางวิทยาศาสตร์หรือไม่



วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
1.ทักษะการสังเกต (Observe)
  ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการรับรู้
  เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเกี่ยวกับเปลี่ยนแปลง
2.ทักษะการวัด (Measuring)
   การใช้เครื่องมือวัดปริมาณออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอน
      จะวัดอะไร → วัดทำไม → ใช้เครื่องมืออะไรวัด → วัดอย่างไร
3.ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying)
   เลือกใช้เกณฑ์ในการจำแนก
3.1 ความเหมือน    3.2 ความแตกต่าง   3.3 ความสัมพันธ์
4.ทักษะการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับเวลา (Time relationship)
   ความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่างๆที่เกี่ยวกับสถานที่ รูปทรง ทิศทาง เวลา
5.ทักษะการคำนวณและการใช้จำนวน (Using numbers)
   การเอาจํานวนที่ได้จากการวัด การสังเกต และการทดลอง มาจัดกระทําให้เกิดค่าใหม่
6.ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล (Communicating)
   การนําเอาข้อมูล ซึ่งได้มาจากการสังเกต การทดลองมากระทําใหม่
7.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring)
   ความชำนาญในการอธิบายสิ่งที่เห็น
8.ทักษะการพยากรณ์ (Predicting)
   การคาดคะเนหาคําตอบล่วงหน้าก่อนการทดลองโดยอาศัยข้อมูลที่ได้
9. ทักษะการตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis)
    การคิดหาค่าคําตอบล่วงหน้าก่อนจะทําการทดลอง
10.ทักษะการกําหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Operational Definition)
     การกําหนดความหมาย และขอบเขตของคําต่างๆ ที่มีอย่ในสมมติฐานที่จะทดลองให้มีความรัดกุม เป็นที่เข้าใจตรงกันและสามารถสังเกตและวัดได้
11.ทักษะการควบคุมตัวแปร (Controlling Variables)
     การควบคุมสิ่งอื่นๆนอกเหนือจากตัวแปรอิสระ ที่จะทําให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อน
12.ทักษะการทดลอง  (Experimenting)
     กระบวนการปฏิบัติการโดยใช้ทักษะต่างๆมาใช้ร่วมกันเพื่อหาคําตอบ หรือทดลองสมมุติฐานที่ตั้งไว้
13.ทักษะการตีความและลงข้อสรุป (Interpreting data)
    ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ส่ วนใหญ่จะอย่ในรูปของลักษณะตาราง การนําข้อมูลไปใช้ จึงจําเป็นต้องตีความให้สะดวกที่จะสื่อความหมายได้ถูกต้องและเข้าใจตรงกัน




สรุป VCD วิทยาศาสตร์แสนสนุก ชุดความลับของแสง
   แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งทีี่วิิ่งเร็วมากและเดินทางเป็นเส้นตรง เราสามารถเห็นวัตถุรอบๆได้เพราะแสงส่องสะท้อนกับวัตถุและกระทบที่ดวงตาของเรา
   -วัตถุโปร่งแสง แสงจะสามารถผ่านไปได้บางส่วน 
   -วัตถุโปร่งใส แสงทะลุผ่านจนสามารถมองเห็นวัตถุได้
   -วัตุทึบแสง แสงไม่สามารถผ่านไปได้เลย

ผลงานที่ทำในวันนี้

Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)
ทำให้ทราบว่าวิทยาศาสตร์นั้นเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา และสามารถเอาความรู้ที่ได้ในวันนี้มาปรับใช้ได้

Adoption (การนำไปใช้)
 กิจกรรมที่เราได้วาดรูป สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมของเด็กได้ซึ่งเด็กๆสามารถสร้างสรรค์ผลงานของตนเองและครูนำมาเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์ในเรื่องของแสง

Assessment (การประเมิน)
ตนเอง: เข้าเรียนตรงเวลา
อาจารย์: อาจารย์ให้นักศึกษาร่วมกันตกลงกติกาภายในห้องเรียน 
บรรยากาศ: เพื่อนทุกคนตั้งใจฟังอาจารย์

Vocabulary (คำศัพท์)
การจำแนกประเภท = Classifying
การสื่อความหมายข้อมูล = Communicating
การพยากรณ์ = Predicting
การทดลอง = Experimenting


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น