วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

Learning Log 15

Learning Log 15


Learning Log 15
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน 2560

Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
อาจารย์ตรวจคลิปการทดลอง พร้อมให้แนะนำเกี่ยวกับคลิปการทดลองของแต่ละคน
สีเต้นระบำ - เป็นการทดลองที่น้ำยาล้างจานจะทำปฏิกิริยากับไขมันในนมทำให้สีเกิดการกระจายตัว
เมล็ดพืชเต้นรำ - เป็นการทดลองเกี่ยวกับการเกิดก๊าซคาร์บอนไซด์ เกร็ดความรู้ของการทดลองนี้คือ ถ้าใส่เมล็ดพืชชนิดอื่นเช่น ถั่วเขียวลงในโซดาจะเกิดปฏิกิริยากับโซดาน้อยกว่าเม็ดแมงลักเพราะ เมล็ดถั่วเขียวมีน้ำหนักมากกว่า
หมุดลอยน้ำ - แรงตึงผิวของน้ำสามารถรองรับน้ำหนักของเข็มหมุดได้ แต่ถ้าวางเข็มหมุดในลักษณะเอียง จะทำให้น้ำเข้าไปและทำให้เข็มหมุดจมลง เป็นหลักการเดียวกันกับเรือเพราะเรือมีช่องโปร่งตรงกลางเรือและส่วนอื่นเป็นโครงเหล็ก เรือจึงสามารถลอยน้ำได้ แต่ถ้าเรือเอียงน้ำก็จะเข้าไปและจมลง
การละลาย - เกลือจะละลายน้ำและเกิดการอิ่มตัวจึงทำให้ปริมาณน้ำไม่เพิ่มขึ้น แต่เมื่อใส่ทรายไปแทนที่น้ำจะทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้น และเมื่อลองน้ำเกลือไปรนไฟจะเกิดการผลึกของเกลือเพราะเกิดการระเหย
แสงเลี้ยวเบน - โดยปกติแสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง แต่เมื่อแสงเจอตัวกลางทำให้เกิดการหักเห และน้ำมีความหนักแน่นมากกว่าน้ำมันทำให้เกิดการหักเหน้อยกว่า




การทำcooking โดยบูรณาการเข้ากับSTEM และ STEAM
STEM
S=วิทยาศาสตร์ (Science)
T=เทคโนโลยี (Technolgy)
E=การออกแบบ (Engineering)
M=คณิตศาสตร์(Math)
STEAM
S=วิทยาศาสตร์ (Science)
T=เทคโนโลยี (Technolgy)
E=การออกแบบ (Engineering)
A=ศิลปะ (Art)
M=คณิตศาสตร์(Math)

ขั้นตอนที่ 1 ออกแบบ(Engineering) เกี๊ยวทอดของแต่ละคน จากนั้นให้ภายในกลุ่มเลือกว่าจะทำเกี๊ยวตามรูปแบบของใคร



ขั้นตอนที่ 2 ตักวัตถุดิบตามที่แต่ละกลุ่มได้ตั้งไว้เช่น หมูคนละ 1 ช้อน มี 4 คนตัก 4 ช้อน แครอท 1 ช้อน วุ้นเส้น 1 ช้อน ไส้กรอก 1 ช้อน แผ่นเกี๊ยว 10 แผ่น (Math)


ขั้นตอนที่ 3 ห่อเกี๊ยวตามที่แต่ละกลุ่มได้ออกแบบไว้
ขั้นตอนที่ 4 ครูดำเนินขั้นตอนแบบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์(Science) โดยการตั้งประเด็นปัญหาให้กับเด็ก ตั้งสมติฐาน เริ่มวิธีการทำ และสรุป


Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)
STEM คือ การศึกษาแบบบูรณาการและนำทักษะทางธรรมชาติในสาระวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน


Adoption (การนำไปใช้)

การจัดการเรียนรู้แบบ STEM ทำให้เด็กๆได้คิด ออกแบบ สังเกต ไปจนถึงการลงมือปฏิบัติทำให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอน เมื่อเด็กๆได้เรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบ STEM บ่อยๆจะเป็นทำให้เด็กมีประสบการณ์มากขึ้น ในอนาคตเด็กๆจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็สามารถทำได้เอง

Assessment (การประเมิน)

ตนเอง : ตั้งใจทำกิจกรรมและเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบ STEM
เพื่อน : ให้ความร่วมมือและแสดงความคิดเห็นช่วยกันออกแบบ
อาจารย์ : ให้คำแนะนำอยู่เสมอในขณะที่นักศึกษากำลังลงมือปฏิบัติ

Vocabulary (คำศัพท์)
การทอด = Frying
กระจายตัว = Disperse
ออกแบบ = Engineering



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น