Learning Log 9
Learning Log 9
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 10 ตุลาคม 2560
Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
เช้าร่วมงานสัมมนาของรุ่นพี่ชั้นปีที่ 5 หลังจากออกฝึกประสบการณ์ 1 เทอม
Project Approach "ดาวเรือง"
➤ ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้น ครูและเด็กแลกเปลี่ยนประสบการณ์เดิม ตั้งคำถาม
- เด็ก 2 กลุ่มเสนอหัวข้อเรื่องขนมชั้นกับดาวเรือง
➤ ระยะที่ 2 ระยะพัฒนา ครูจัดโครงการขึ้นมา ทำให้เด็กเกิดประสบการณ์ใหม่
- ลักษณะของดอกดาวเรือง
- ถิ่นกำเนิดของดาวเรือง
- ดาวเรืองที่นิยมปลูกในประเทศไทย
- การเจริญเติบโตของดาวเรือง
➤ ระยะที่ 3 ระยะสรุป ครูจัดให้เด็กมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ประเมินผลสะท้อนกลับ
อาเซียน
นวัตกรรมเกี่ยวกับอาเซียน ➝ เรียนรู้เครื่องแต่งกายของประเทศต่างๆในอาเซียน โดยจะมีหัวและเครื่องแต่งกายให้ ครูจะกำหนดประเทศมาให้และให้เด็กๆจับหัวและเครื่องแต่งกายมาแปะให้ถูกต้อง โดยสังเกตจากแถบด้านข้าง
การจัดการเรียนการสอนแบบไฮสโคป (High Scope)
ไฮสโคป (High Scope) เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่างๆอย่างอิสระ ซึ่งตรงตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ (Piaget) นักการศึกษาที่สำคัญคนหนึ่งของโลก ความสำคัญในด้านพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียนจะเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้เกืดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ และรู้จักลงมือแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
ไฮสโคป (High Scope) ใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ
1. การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือสิ่งที่สนใจด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กอาจแสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูบันทึก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ
2. การปฏิบัติ (Do) คือการลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกับเพื่อนอย่างอิสระตามเวลาที่กำหนด โดยมีครูเป็นผู็ให้คำแนะนำช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม เป็นส่วนที่เด็กได้มีพัฒนาการพูดและปฏฺิสัมพันธ์ทางสังคมสูง
3. การทบทวน (Review) เด็กๆจะเล่าถึงผลงานที่ตนเองได้ลงมือทำเพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การทบทวนจุดประสงค์ที่แท้จริง คือ ต้องการให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่างๆที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง
ประโยขน์ของแนวการสอนแบบไฮสโคป (High Scope) ที่มีต่อเด็ก
- สอนให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้อื่น ซึ่งเริ่มต้นจากความไว้วางใจโดยครูเป็นผู้สร้างความไว้วางใจให้แกเด็กเพื่อให้เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมหรือชิ้นงานตามความสนใจของตนเองและมีความสนุกในการเรียนรู้ที่จะทำงาน
- การลงมือทำงาน ฝึกให้เด็กวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน เป็นระบบ
- เด็กได้ฝึกสมาธิทำให้เด็กเกิดปัญญา ฝึกความมีระเบียบวินัย ฝึกการคิดอย่างมีความหมาย ผลที่ตามมาคือ ความสำเร็จในการทำงานที่ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ได้เรียนรู้และมีความสุขในการทำงานที่ตอนสนใจ
- รูปภาพประกอบการสอนแบบไฮสโคป (High Scope)
Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)
ได้ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการสอนมากมาย รวมถึงการประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมาเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกในศตวรรษที่ 21 และยังทำให้เด็กเกิดความสนใจในการอยากเรียนรู้มากขึ้นอีกด้วย
Adoption (การนำไปใช้)
ในการเรียนแบบโครงการนั้นเป็นการเรียนจากความสนใจของเด็กครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดของตนเอง ครูต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบและครอบคลุม เนื่องจากเป็นการเรียนระยะยาวควรมีการบูรณาการในรายวิชาต่างๆเพื่อให้เด็กได้ทั้งความรู้และทักษะต่างๆอย่างครบถ้วนสมบูรณ์
Assessment (การประเมิน)
ตนเอง : พยายามทำความเข้าใจตอนพี่ๆอธิบาย แต่บางทีไม่ได้สนใจฟังเท่าที่ควร
เพื่อน : เพื่อนๆ บางคนสนใจเรื่องกล้องสามมิติ บางคนสนใจ Project Approach
อาจารย์ : แนะนำภาพรวมของกิจกรรม
เพื่อน : เพื่อนๆ บางคนสนใจเรื่องกล้องสามมิติ บางคนสนใจ Project Approach
อาจารย์ : แนะนำภาพรวมของกิจกรรม
Vocabulary (คำศัพท์)
การสอนแบบโครงการ Project Approach
นิทรรศการ Exhibition
ดอกดาวเรือง Marigold
การสาธิต Demonstration
เศรษฐกิจพอเพียง Sufficient economy
ความสมดุล Balance
การเปลี่ยนแปลง Change
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น