วันเสาร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2560

Learning Log 7

Learning Log 7




Learning Log7การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย(Science Experiences Management For Early Childhood)วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2560
เนื้อหาที่เรียน (Story of subject)

 คนที่  1    เพื่อนนำเสนอ วิดีโอสื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เรื่อง สอนวิทย์คิดสนุก โดย อาจารย์ กรรณณิการ์ เฉิน โดยในวีดีโอ ได้มีการสอนวิทยาสาสตร์ให้กับเด็ก

คนที่ 2  เพื่อนได้นำเสนอวิจัยเรื่องเรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ
เพิ่มเติ่มที่http://suwanan08.blogspot.com/?fref=gc

              ต่อมา  การนำเสนอสื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์ ของเล่นวิทยาศาสตร์ จากนั้นอาจารย์ได้ให้จับกลุ่มกลุ่มละ4คน โดยให้วางแผนในการที่จะจัดกิจกรรมcookingให้กับเด็กปฐมวัย  โดยให้แบ่งกลุ่มออกเป็น  4 คน  โดย
1.อาหารที่เลือก จะต้องสัมพันธ์กับหน่วยการเรียนรู้ในตอนนั้นและเด็กสามารถ  ทำได้
2.บอกสัดส่วนของเครื่องปรุง วัสดุที่ใช้
3.บอกขั้นตอนในการทำและแปลงวิธีการให้เข้ากับเด็ก

โดยกลุ่มของดิฉันเลือกเมนู เกี๊ยวทอด
            -  ตั้งประเด็นปัญหา
            -  ตั้งสมมุติฐาน
ขั้นตอน มีดังนี้
 1    เขียนสัดส่วนก่อน ต้องมีสัดส่วนในการทำให้เด็กเห็น
 2   ให้เด็กตักตามสัดส่วน
 3   เมื่อเด็กแต่ละคนตักสัดส่วนแล้วจึงนำมารวมกันแล้วใส่ในถ้วยใหญ่
 4   ตกแต่งภาชนะที่ใส่

 สัดส่วน/เครื่องปรุง
    1.   ไก่สับ 1/2 กิโลกรัม
    2.   ไส้กรอก 1 แพ็ค
    3.   หัวหอมใหญ่ 1 หัว
    4.   แครอท 2 หัว
    5.   ซอสปรุงรส 1 ขวด
    6.   พริกไทย
    7.   แผ่นเกี๊ยว 3 ห่อ
    8.   น้ำมันพืช 1 ขวด
    9.   ต้นหอม 2 กำ

อุปกรณ์
    1.  หม้อ กะทะ
    2.  ทัพพี
    3.  ถ้วย
    4.  ตะแกรง
    5.  ทิชชู้ซับน้ำมัน
    6.  จาน
    7.  ช้อน

ขั้นตอนการทำ
    1.    นำส่วนผสม ไก่สับ ไส้กรอก ต้นหอม หัวหอมใหญ่ แครอท นำมาหั่นเป็น 
          ลูกเต๋า เล็ก แล้วผสมเข้าด้วยกัน
    2.   ปรุงรสด้วย ซอสปรุงรสและพริกไทยนิดหน่อย
    3.   นำส่วนผสมที่ได้ มาหอด้วยแผ่นเกี๊ยวตามรูปทรงที่ได้วางแผนกันไว้
    4.   ตั้งน้ำมันในกะทะให้ร้อน จากนั้น น้ำตัวเกี๊ยวที่หอเสร็จแล้วลงไปทอดให้
          เหลืองกรอบ
    5.   นำตัวเกี๊ยวขึ้นมาพักน้ำมันและจัดลงจาน ตกแต่งให้สวยงาม


Assessment (การประเมิน)
ตนเอง   : เข้าเรียนตรงเวลา เมื่อไม่เข้าใจตรงไหนจะยกเมื่อถามทันที
เพื่อน    : มีการแสดงความคิดเห็นในห้องเรียนและแบ่งปันข้อมูลให้เพื่อนๆได้เพิ่มเติม
บรรยากาศ: เพื่อนแอบเล่นโทรศัพท์บ้างเป็นบางครั้ง และไม่ค่อยสนใจฟังสิ่งที่เพื่อนนำเสนอ

Vocabulary (คำศัพท์)
สัดส่วน = Proportion
วัตถุดิบ = Raw material
สังเกต = Observe




วันจันทร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2560

หน้าแรก



 แนวการสอน (Course Syllabus) 



ชื่อวิชา (ภาษาไทย)              การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ชื่อวิชา (ภาษาอังกฤษ)         Science Experiences Management for Early Childhood
รหัสวิชา                               EAED3207                              จำนวนหน่วยกิต 3(2-2-5)
ผู้สอน                                  อาจารย์ ดร.จินตนา สุขสำราญ     E-mail : jintana-su@hotmail.com
เวลาเรียน                            กลุ่ม 101 วันอังคาร คาบ 1-4 เวลา 08.30 - 12.30 น.  ห้อง 34-501 (ชั้น5)
สถานที่ติดต่อ                      ห้องพักอาจารย์ชั้น 2 อาคาร 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม


คำอธิบายรายวิชา

               ศึกษาความหมาย ความสำคัญ แนวคิด ทฤษฎี และหลักการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แนวคิดและทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา การประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฎีในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รูปแบบการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย กรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การออกแบบและวางแผนกิจกรรมบูรณาการประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การผลิตสื่อวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย การใช้คำถามพัฒนาการคิด การใช้คำถามพัฒนาการคิด การใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ บทบาทของครูและผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์


Learning Log 6

Learning Log 6



Learning Log  6

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 12 กันยายน 2560

Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
นำเสนอวิจัยเรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย



Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)
วันนี้เพื่อนๆได้นำเสนอวิจัยเรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เพื่อศึกษาระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  โดยรวมและจำแนกรายทักษะก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยรวมและจำแนกรายทักษะก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยวัยจำแนกรายทักษะ การวิจัยครั้งนี้เป็นการจัดการเรียนรู้เพื่อมุ่งให้เด็กได้รับการฝึกฝน และพัฒนาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ได้แก่ ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการสื่อความหมาย และทักษะการลงความเห็น ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชายหญิงอายุระหว่าง5-6ปีอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที2ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนวัดยางสุทธาราม กรุงเทพมหานคร จำนวน 4 ห้องเรียน จำนวน 120 คน 

สรุปผลการวิจัย  

       หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวมอยู่ในระดับดีมากขึ้น
 สามาถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://spupapitt.blogspot.com/


แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
- การเปลี่ยนแปลง (Change) ทุกสิ่งเกิดการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนสถานะของแข็งเป็นของเหลว ไม่มีอะไรอยู่ค้ำฟ้า แต่บางอย่างนานมากถึงจะเปลี่ยน เช่น โฟม
- ความแตกต่าง (Variety) มนุยษ์สร้างขึ้นมาบล็อคเดียวกันแต่ก็ยังมีความแตกต่างกัน เช่น แฝด

- การปรับตัว (Adjustment) เช่น ภาคอีสานอากาศร้อนสร้างบ้านมีหน้าต่างงเยอะ สมัยก่อนหาของกินในป่ายากขึ้นเลยต้องปลุกกินเอง
- พึ่งพาอาศัยกัน (mutually) นกเอี้ยงและควาย
- ความสมดุล (Equilibrium) เป็นไปตามวิถีชีวิต ถ้ามนุษย์จับแมลงในสวนหรือไร่นาเพลี้ยก็จะมากิน ก็ต้องไม่จับเพื่อให้เกิดความสมดุล ถ้ามากเกินไปจะไม่ดี

องค์ประกอบของวิทยาศาสตร์

1.องค์ประกอบด้านความรู้(เนื้อหา)
    - จะต้องเป็นความรู้ของธรรมชาติ

    - หาความรู้แบบวิทยาศาสตร์ (การทดลอง)
    - ความรู้ที่ผ่านการทดสอบยืนยันแล้วว่าเป็นจริง
2.องค์ประกอบด้านเจตคติ
3.องค์ประกอบด้านกระบวนการ

ความรู้วิทยาศาสตร์จำแนกเป็น 5 ประเภท

1.ข้อเท็จจริง (Fact) เช่น
   - น้ำตาลละลายในน้ำได้
   - น้ำไหลจากที่สูงไปที่ต่ำ
   - พืชที่ไม่ได้รับแสง ใบและลำต้นจะมีสีขาวซีด
2.มโนมติหรือความคิดรวบยอด (Concept) 
   - แมวเป็นสัตว์มี 4 ขามีขน เลี้ยงลูกด้วยนม
   - แมลงคือสัตว์ที่มี 6 ขาและลำตัวแบ่งเป็น 3 ส่วน
3.หลักการ (Principle)
   - ก๊าซเม่อได้รับความร้อนจะขยายตัว
   - ขั้วแม่เหล็กเหมือนกันจะผลักกัน ขั้วแมื่เหล็กต่างกันจะดูดเข้าหากัน
4.กฎ (Law) เช่น 
   - น้ำเมื่อเย็นลงจนเป็นน้ำแข็ง ปริมาตรของน้ำจะมากขึ้น
   - วัถุเคลื่อนที่หรือหยุดนิ่งหรือจะเปลี่ยนแปลงความเร็วจะต้องมีแรงภายนอกไปกระทำ
5.ทฤษฎี (Theory)
   ดังนั้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จึงประกอด้วยข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอด สมมติฐาน กฎหรือหลักการ และทฤษฎี ซึ่งแต่ละองค์ประกอบเป็นความรู้จากธรรมชาติ เป็นควาจริงและที่ยอมรับทั่วไป
   สำหรับเด็กเป็นความรู่เบื้องต้น ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง คิดรวบยอด อาจไปถึงหลักการบ้าง ถ้ามีการทดลอง การเสาะแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยมีเครื่องมือคือประสาทสัมผัสทั้ง 5 
วิธีการหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific Method)

    - ขั้นสังเกต (Observation)
    - ขั้นตั้งปัญหา(State Problem)

    - ขั้นตั้งสมมติฐาน (Testing Hypotheses)
    - ขั้นสรุป(Conclusion)
เจตคติทางวิทยาศาสตร์
- นักวิทยาศาสตร์ยึดมั่นในอิสระและเสรีภาพแห่งความคิด เคารพความจิงและข้อเท็จจริง ออดทนรอคอยความรู้จากความพยายามของตน ทำงานด้วยความรักความชอบ ในสิ่งที่ตนเองทำมีผลหรือไม่มีผลประโยชน์ก็ไม่ได้สนใจ
- ความอยากรู้อยากเห็น
- ความเพีรพยายาม
- ความมีเหตุมีผล
- ความซื่อสัตย์
- ความมีระเบียบและรอบคอบ
- ความใจกว้าง

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

สมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกัน  American Association for the Advancement of Science
- ทักษะการคำนวน
- ทักษะการสังเกต
-ทักษะการวัดเพื่อให้รู้ค่า (เป็นตัวเอง)
- ทักษะการจำแนกประเภท
- ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่าง ช้าเร็ว วิ่งเร็วใช้เวลาน้อยพื้นที่มาก วิ่งช้าใช้เวลามากพื้นที่น้อย

ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา

- ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
- ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล
- ทักษะการพยากรณ์ จากประสบการณืเดิม
mักษะขั้นผสมหรือบูรณาการ
- ทักษะการตั้งสมมติฐาน
- ทักษะการกำหนดนิยามเชิมปฏิบัติการ
- ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร
- ทักษะการทดลองทักษะการตีความข้อมูลและลงสรุปข้อมูล

Adoption (การนำไปใช้)
สามารถใช้จัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้สมบูรณ์ได้

Assessment (การประเมิน)
ตนเอง   : เข้าเรียนตรงเวลา เมื่อไม่เข้าใจตรงไหนจะยกเมื่อถามทันที
เพื่อน    : มีการแสดงความคิดเห็นในห้องเรียนและแบ่งปันข้อมูลให้เพื่อนๆได้รู้เพิ่มเติม
บรรยากาศ: เพื่อนแอบเล่นโทรศัพท์บ้างเป็นบางครั้ง และไม่ค่อยสนใจฟังสิ่งที่เพื่อนนำเสนอ

Vocabulary (คำศัพท์)
หลักการ = Principle
กฎ = Law
ทฤษฎี = Theory
ขั้นสังเกต = Observation
ขั้นตั้งปัญหา = State Problem
ขั้นตั้งสมมติฐาน = Make a Hypothesis
ขั้นทดสอบสมมติฐาน = Testing Hypothesis
ขั้นสรุป = Conclusion



Learning Log 5

Learning Log 5


Learning Log  5
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 5 กันยายน 2560

Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
เล่นเกมคำคล้องจอง โดยคนเริ่มต้นต้องพูดคำ 1 คำ จะพูดภาษาไทยหรืออังกฤษก่อนก็ได้ ถ้าพูดภาษาไทย คำต่อไปต้องเป็นภาษาอังกฤษ แล้วคิดคำใหม่ขึ้นมาอีก 1 คำ ต่อคำเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนถึงคนสุดท้าย
ตัวอย่าง     nose  post  มด  รถ  cat  fat  ผีเสื้อ  เรือ  tree  ปี  love  serve  แก้ว เป็นต้น


รอบที่สอง เป็นเกมคำคล้องจองเช่นเดิม แต่เมื่อคิดคำภาษาไทยได้ จะต้องต่อท้ายด้วยคำภาษาอังกฤษ คำต่อไปก็ต้องหาเสียงที่พ้องกับคำข้างหน้า ต่อคำเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนถึงคนสุดท้าย
ตัวอย่าง ดอกไม้  flower  เธอ  you  ปู  crab  map  แผนที่  ผี  ghost  โสด  single  girl  เด็กผู้หญิง เป็นต้น
อาจารย์มอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่ม หานักทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการด้านสติปัญญาสำหรับเด็กปฐมวัย โดยแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์ และกลุ่มทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ 

ทฤษฎีของ เพียเจต์
จอห์น เพียเจต์ (พ.ศ. 2439 – 2523) Jean Piaget (ค.ศ.1896 – 1980) ผู้สร้างทฤษฎีพัฒนาการเชาวน์ปัญญา                เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับ พัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญาซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่าสามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว   อย่างไรก็ตามเพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น             
 เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม


ทฤษฎีของบลูเนอร์

       บรูเนอร์ (Bruner, 1956)   เป็นนักจิตวิทยาในยุคใหม่  ชาวอเมริกันคนแรกที่สืบสานความคิดของเพียเจต์ โดยเชื่อว่าพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากกระบวนการภายในอินทรีย์ (Organism) เน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่แวดล้อมเด็ก ซึ่งจะพัฒนาได้ดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก และชี้ให้เห็นว่าการศึกษาว่าเด็กเรียนรู้อย่างไร ควรศึกษาตัวเด็กในชั้นเรียนไม่ควรใช้หนูและนกพิราบ ทฤษฎีของบรูเนอร์เน้นหลักการ กระบวนการคิด ซึ่งประกอบด้วย ลักษณะ ข้อ คือ

                             1   แรงจูงใจ (Motivation) 

                             2.  โครงสร้าง (Structure) 

                             3.   ลำดับขั้นความต่อเนื่อง (Sequence) 

                             4.   การเสริมแรง (Reinforcement)
สำหรับในหลักการที่เป็นโครงสร้างของความรู้ของมนุษย์ บรูเนอร์แบ่งขั้นพัฒนาการคิดในการเรียนรู้ของมนุษย์ออกเป็น ขั้นด้วยกัน   ซึ่งคล้ายคลึงกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ได้แก่
         1. ขั้นการกระทำ (Enactive Stage) เด็กเรียนรู้จากการกระทำและการสัมผัส         2. ขั้นคิดจินตนาการหรือสร้างมโนภาพ (Piconic Stage) เด็กเกิดความคิดจากการรับรู้ตามความเป็นจริง และการคิดจากจินตนาการด้วย         3. ขั้นใช้สัญลักษณ์และคิดรวบยอด (Symbolic Stage) เด็กเริ่มเข้าใจเรียนรู้ความ สัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และพัฒนาความคิดรวบยอด เกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็น แนวทางในการจัดการเรียนการสอน
       บรูเนอร์ได้กล่าวถึงทฤษฎีในการจัดการเรียนการสอนว่าควรประกอบด้วยลักษณะสำคัญ  4 ประการ คือ
1  ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจภายใน มีความอยากรู้ อยากเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว
2  โครงสร้างของบทเรียนซึ่งต้องจัดให้เหมาะสมกับผู้เรียน
3  การจัดลำดับความยาก-ง่ายของบทเรียนโดยคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน
4  การเสริมแรงของผู้เรียน
บรูเนอร์สรุปว่า  คนทุกคนจะมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ  โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า  acting, imaging และ symbolizing   เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต  มิใช่ว่าเกิดขึ้นเพียงช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะแรกๆของชีวิตเท่านั้น





The Knowledge gained


                                                                   Rhyming game


How to play
                First  people says 1 word you  can say Thai or English it’s up to you ,If first  word is Thai next  word must be English  and  think new word ,do that till the last one
Example nose post  มด รถ cat fat ผีเสื้อ เรือ tree ปี love surf แก้ว
Second time
                 Think Thai word and translate into English next word must be homophone  with the word forward do that till the last one
Example ดอกไม้ flower เธอ you ปู crab map แผนที่ ผี ghost โสด single girl  เด็กผู้หญิง sing ร้องเพลง เก่ง good food อาหาร

              This  Rhyming game you can adapt it as an activity for children to develop intellect by thinking and creative other words ,so these things become children'systematic thinking process  in the future


Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)
 ทฤษฎีของบรูเนอร์กับทฤษฎีของเพียเจย์เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย โดยทั้งสองทฤษฎีได้พูดถึงการใช้ความคิดของเด็ก เด็กจะซึมซับประสบการณ์ต่างๆและเมื่อถึงเวลาที่ควรใช้ เด็กจะนำประสบการณ์เดิมที่ได้รับมาแตกเป็นประสบการณ์ใหม่ สมองของเด็กก็จะพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ

Adoption (การนำไปใช้)
สามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนกับเด็กได้อย่างเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็ก 

Assessment (การประเมิน)
ตนเอง: มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับกลุ่ม
อาจารย์: อธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมจากที่เพื่อนนำเสนอ
บรรยากาศ: ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม และตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ


Vocabulary (คำศัพท์)
ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ = Enactive Stage
ขั้นจินตนาการ = Iconic Stage
ขั้นใช้สัญลักษณ์ = Symbolic Stage
การอนุรักษ์ = Conservation
ประสบการณ์ = Experienceการเสริมแรง = Reinforcement