วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560

Learning Log 11


Learning Log  11
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 24 ตุลาคม 2560

Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
เรื่อง : น้ำ
ปรากฏการณ์ : การละลาย
น้ำเป็นตัวทำละลายที่ดี เด็กๆสามารเรียนรู้ได้จากการนำเกลือมาละลายน้ำ ซึ่งเกลือจะละลายน้ำได้ดี แต่เมื่อนำทรายปริมาณเท่ากันมาใส่ในน้ำ จะพบว่าทรายไม่ละลายน้ำ 



ขอขอบคุณข้อมูลจากบ้านนักวิทยาสาสตร์น้อย สนใจการทดลองเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ช่องยูทูปค่ะ 
>> https://www.youtube.com/watch?v=0ePdnwCzljs&t=15s

วัสดุ/อุปกรณ์
1.แก้วน้ำขนาดเท่ากัน2ใบ 2.ช้อนชาสำหรับตักและคน
3.น้ำอุ่น                                  4.ปากกาเคมี
5.เกลือ                                   6.ทราย
7.ลูกปัด

วิธีการทดลอง
1.ตักเกลือ ทราย2ช้อนชาลงในแก้วเล็ก2ใบที่เตรียมไว้
2.เทน้ำอุ่นลงในแก้วทั้งสองใบในปริมาณที่เท่ากัน จากนั้นใช้ปากกาเคมีขีดบอกระดับน้ำไว้บนแก้ว
3.ถามเด็กว่าระดับน้ำจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ถ้าเราใส่ทรายลงไป เมื่อเด็กตอบก็ตักทรายที่เตรียมไว้เทลงไปในแก้วใบที่1
4.ถามเด็กว่าระดับน้ำจะสูงขึ้นหรือไม่ถ้าเราใส่เกลือลงไปในแก้ว เมื่อเด็กตอบก็เทเกลือลงไปในแก้วใบที่2
5.เมื่อเกลือละลายแล้วก็ลองเอาแก้วทั้งสองใบมาเปรียบเทียบระดับน้ำกัน

6.ถามเด็กว่าเกลือหายไปไหน

ผลการทดลอง
เกลือสามารถละลายในน้ำได้จนหมดแต่ทรายในปริมาณที่เท่ากันกับไม่ละลายน้ำเลย

สรุปผลการทดลอง
น้ำเป็นตัวทำละลายทำลายที่ดี สังเกตได้จากการทดลองที่เกลือสามารถละลายในน้ำได้จนหมด


Vocabulary (คำศัพท์)
ละลายได้น้ำ water soluble
เกลือ             salt
น้ำตาล          sugar
ทราย            sand


สื่อวิทยาศาสตร์สำหรับเข้ามุม

สื่อวิทยาศาสตร์สำหรับเข้ามุม


สื่อสำหรับเข้ามุม กล้องสลับลาย(กล้องคาไลโดสโคป)
เป็นสื่อที่ช่วยอธิบายในเรื่องการสะท้อนของแสง และช่วยฝึกทักษะการคิด การทดลองเช่นเดียวกับโฮเวอร์คราฟ คือคาไลโดสโคป หรือ บางคนเรียกว่า กล้องสลับลาย
คำว่า "คาไลโดสโคป" มีความหมายว่า "การมองเห็นรูปลักษณ์ที่สวยงาม" นักเรียน จะเพลิดเพลินกับจินตนาการที่เกิดจากการมองดูภาพที่มองผ่านกล้องคาไลโดสโคป 
สามารถดูวิดีโอวีธีการทำอย่างละเอียดได้ที่ >> https://www.youtube.com/watch?v=PNm4Lqn_yCI

วิธีการเล่น
ให้เด็กมองผ่านช่องที่เจาะไว้ด้านบน ขณะมองให้หมุนกล้องไปเรื่อยๆซ้ำๆ

วัสดุ/อุปกรณ์
1.กระจกเงา3แผ่น(15ซม.*4ซม.)                2.สก็อตเทป
3.กระดาษไข                                               4.ลูกปัด
5.กระดาษแก้ว

วิธีการทำ
1.นำกระจกหรือแผ่นสะท้อนแสงขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร x 4 เซนติเมตร มา 3 แผ่น จากนั้นนำมาประกบกันเป็นกระบอกสามเหลี่ยมด้านเท่า(ให้ด้านสะท้อนแสงอยู่ด้านใน)


2.ใช้เทปกาวพันให้ติดกันแน่น


3.ใช้กระดาษไขหรือกระดาษฝ้าที่แสงผ่านได้บางส่วนหุ้มปลายข้างหนึ่งของกล้อง


4.ตัดเศษพลาสติกแก้วหรือกระดาษสีต่างๆเป็นชิ้นเล็กๆหรือจะใช้ลูกปัดสีต่างๆก็ได้ใส่ลงในกล้องประมาณ 10-15 เม็ด


5.ปิดอีกปลายหนึ่งของกล้องด้วยกระดาษไขหรือกระดาษสีเหมือนปลายข้างแรก แต่เจาะรูตรงกลางประมาณ 0.5 เซนติเมตรสำหรับมอง



ของเล่นวิทยาศาสตร์

ของเล่นวิทยาศาสตร์

สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ พัดรวมสี
เป็นของเล่นวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยให้เด็กเข้าใจในเรื่องของแสง การวมแสง และการสังเกตการรวมสีได้อย่างง่ายและเข้าใจได้ง่าย

วิธีการเล่น
ให้เด็กยกพัดขึ้นส่องกับแสงแล้วหมุนด้านจับพัดไปรอบๆ แล้วดูการเปลี่ยนแปลงของช่องสีบนพัด


วัสดุ/อุปกรณ์
1.กระดาษแก้ว                     2.กระดาษแข็ง
3.กรรไกร/คัตเตอร์              4.ดินสอ/ปากกาเมจิก
5.ไม้บรรทัด                          6.วงเวียน

7.กาวแท่ง                             8.ไม้สำหรับทำด้ามจับ

วิธีการทำ
1.นำวงเวียนมาวาดวงกลมลงบนกระดาษแข็งเท่าๆกัน2ชิ้น



2.วาดวงกลมเล็กลงในวงกลมใหญ่ที่เราวาดไว้ก่อนหน้า 4วง ทั้งสองชิ้น


3.ตัดกระดาษตามวงกลมที่เราวาดไว้ทั้งวงใหญ่และวงเล็ก


4.นำปากกาเมจิกมาระบายสีลงบนกระดาษที่เราตัดไว้ให้ทั่ว(สามารถตกแต่งเพิ่มเติมได้)


5.ตัดกระดาษแก้วเป็นชิ้นเล็กให้พอดีกับวงกลมเล็กที่เราตัดไว้


6.นำกระดาษแก้วที่ตัดแล้วมาทากาวแล้วแปะลงด้านหลังของวงกลมเล็กที่เราตัดไว้(แปะด้านหลังที่ไม่ได้ระบายสี)

7.นำไม้สำหรับทำด้ามจับมาทากาวติดเข้ากับวงกลมทั้งสองชิ้น วงละ1อัน


8.นำวงกลมที่ติดด้ามจับเรียบร้อยแล้วมาประกบเข้าด้วยกัน 




















Learning Log 10

Learning Log 10


Learning Log  10
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 17 ตุลาคม 2560

Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
จากการดูวิดีโอ วิทยาศาสตร์แสนสนุก ชุดอากาศ สรุปได้ว่า อากาศมีตัวตนและต้องการพื้นที่แต่ถ้ามีอะไรมาแทนที่อากาศ อากาศเคลื่อนที่ออก ซึ่งได้ทำการทดลอง 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 การทดลองชั่งน้ำหนักของลูกโป่ง  

เป่าลูกโป่งทั้ง 2 ลูกแล้วปล่อยออก 1 ลูก จะสังเกตได้ว่าลูกโป่งที่ไม่ได้ปล่อยออกมีน้ำหนักมากกว่า ซึ่งสรุปได้ว่าอากาศมีตัวตนและต้องการพื้นที่

ครั้งที่ 2 การทดลองถ้วย 2 ใบ
ตาชั่งมีน้ำหนักเท่ากัน แล้วนำถ้วย 2 ใบผูกติดกับตาชั่ง (คล้ายกับการทดลองที่ 1 แต่ใช้ถ้วยกระดาษแทน) เมื่อนำไฟไปลนที่ใต้ถ้วยด้านใดก็ได้เพียงหนึ่งด้าน จะสังเกตได้ว่าถ้วยจะลอยตัวขึ้น เพราะไปทำให้อากาศภายในถ้วยร้อนขึ้น เมื่อภายในร้อนจึงทำให้ถ้วยมีน้ำหนักเบา

จากนั้นจะเป็นการนำเสนอผลงาน สื่อเดี่ยวจากวัสดุเหลือใช้จากเพื่อนๆ(ดิฉันไม่ได้นำเสนอจึงขอยกตัวอย่างของนางสาว วัชรี แตงเพชร)


ชื่อสื่อ : จรวดอวกาศ

ความรู้ที่ได้จากการใช้สื่อ : 
·         แรงทำให้วัตถุเกิดการเคลื่อนที่ ยิ่งออกแรงมาก วัตถุจะเคลื่อนที่ได้เร็วมากเท่านั้น
·         องศาในการอ้าแขนมีผลต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุ ถ้าองศากว้าง วัตถุจะเคลื่อนที่ได้ไกลกว่าองศาที่แคบ

จากนั้นเป็นการนำเสนอสื่อคู่สำหรับเข้ามุม(ตัวอย่างจากนางสาว ณัชชา เศวตราฉัตร)


ชื่อสื่อ: โมเดลการหายใจ
ความรู้ที่ได้รับ: เมื่อเราดึงลูกโป่งที่ข้างใต้ จะทำให้ลูกโป่งภายในขยายขึ้น เนื่องจากอากาศที่อัดแน่นภายในแต่พื้นที่มีเท่าเดิม จึงทำให้อากาศเข้าไปอยู่ตรงลูกโป่ง และเมื่อเราปล่อยมือออกลูกโป่งจะแฟ่บเหมือนเดิม

Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)
·         ประสบการณ์ของเด็กจะเกิดจากการได้เล่นและการได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
·         การเรียนรู้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
·         เมื่อเด็กได้รับประสบการณ์ ประสบการณ์นั้นจะถูกสั่งการไปที่สมองเพื่อจดจำข้อมูลและซึมซับข้อมูล
·         เมื่อเด็กมีประสบการณ์มากขึ้นจะเกิดการคิดวิเคราะห์เป็นความรู้ใหม่และเกิดการเรียนรู้
·         เด็กจะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อความอยู่รอด

Adoption (การนำไปใช้)
ครูมีหน้าที่ในการส่งเสริมให้เด็กเกิดประสบการณ์ใหม่ๆขึ้นโดยผ่านวิธีการต่างๆเช่น สื่อที่ช่วยในการเรียนรู้ แล้วเมื่อเด็กเกิดการเรียนรู้จะสามารถปรับเป็นความรู้ใหม่ได้

Assessment (การประเมิน)
·         ตนเอง : มีการจดบันทึกความรู้ต่างๆ มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์และเพื่อน
·         เพื่อน : มีการเตรียมตัวในการนำเสนองาน มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
·         อาจารย์ : มีการให้ความรู้ มีการกระตุ้นให้เกิดการคิดวิเคราะห์และกล้าที่จะตอบคำถาม

Vocabulary (คำศัพท์)
การหายใจ = Breath
การทดลอง = Test
การลอยตัว = Float



Learning Log 9

Learning Log 9


Learning Log  9
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 10 ตุลาคม 2560

Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
เช้าร่วมงานสัมมนาของรุ่นพี่ชั้นปีที่ 5 หลังจากออกฝึกประสบการณ์ 1 เทอม

Project Approach "ดาวเรือง"
ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้น ครูและเด็กแลกเปลี่ยนประสบการณ์เดิม ตั้งคำถาม
                    - เด็ก 2 กลุ่มเสนอหัวข้อเรื่องขนมชั้นกับดาวเรือง
ระยะที่ 2 ระยะพัฒนา ครูจัดโครงการขึ้นมา ทำให้เด็กเกิดประสบการณ์ใหม่
                    - ลักษณะของดอกดาวเรือง
                    - ถิ่นกำเนิดของดาวเรือง 
                    - ดาวเรืองที่นิยมปลูกในประเทศไทย
                    - การเจริญเติบโตของดาวเรือง
ระยะที่ 3 ระยะสรุป ครูจัดให้เด็กมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ประเมินผลสะท้อนกลับ



อาเซียน


นวัตกรรมเกี่ยวกับอาเซียน ➝ เรียนรู้เครื่องแต่งกายของประเทศต่างๆในอาเซียน โดยจะมีหัวและเครื่องแต่งกายให้ ครูจะกำหนดประเทศมาให้และให้เด็กๆจับหัวและเครื่องแต่งกายมาแปะให้ถูกต้อง โดยสังเกตจากแถบด้านข้าง

การจัดการเรียนการสอนแบบไฮสโคป (High Scope)


    ไฮสโคป (High Scope) เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่างๆอย่างอิสระ ซึ่งตรงตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ (Piaget) นักการศึกษาที่สำคัญคนหนึ่งของโลก ความสำคัญในด้านพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียนจะเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้เกืดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ และรู้จักลงมือแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
   ไฮสโคป (High Scope) ใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ
    1. การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือสิ่งที่สนใจด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กอาจแสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูบันทึก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ
   2. การปฏิบัติ (Do) คือการลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกับเพื่อนอย่างอิสระตามเวลาที่กำหนด โดยมีครูเป็นผู็ให้คำแนะนำช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม เป็นส่วนที่เด็กได้มีพัฒนาการพูดและปฏฺิสัมพันธ์ทางสังคมสูง
   3. การทบทวน (Review) เด็กๆจะเล่าถึงผลงานที่ตนเองได้ลงมือทำเพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การทบทวนจุดประสงค์ที่แท้จริง คือ ต้องการให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่างๆที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง
   ประโยขน์ของแนวการสอนแบบไฮสโคป (High Scope) ที่มีต่อเด็ก
   - สอนให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้อื่น ซึ่งเริ่มต้นจากความไว้วางใจโดยครูเป็นผู้สร้างความไว้วางใจให้แกเด็กเพื่อให้เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมหรือชิ้นงานตามความสนใจของตนเองและมีความสนุกในการเรียนรู้ที่จะทำงาน
   - การลงมือทำงาน ฝึกให้เด็กวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน เป็นระบบ
   - เด็กได้ฝึกสมาธิทำให้เด็กเกิดปัญญา ฝึกความมีระเบียบวินัย ฝึกการคิดอย่างมีความหมาย ผลที่ตามมาคือ ความสำเร็จในการทำงานที่ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ได้เรียนรู้และมีความสุขในการทำงานที่ตอนสนใจ
- รูปภาพประกอบการสอนแบบไฮสโคป (High Scope)

Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)
ได้ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการสอนมากมาย รวมถึงการประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมาเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกในศตวรรษที่ 21 และยังทำให้เด็กเกิดความสนใจในการอยากเรียนรู้มากขึ้นอีกด้วย

Adoption (การนำไปใช้)
ในการเรียนแบบโครงการนั้นเป็นการเรียนจากความสนใจของเด็กครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดของตนเอง ครูต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบและครอบคลุม เนื่องจากเป็นการเรียนระยะยาวควรมีการบูรณาการในรายวิชาต่างๆเพื่อให้เด็กได้ทั้งความรู้และทักษะต่างๆอย่างครบถ้วนสมบูรณ์

Assessment (การประเมิน)
ตนเอง : พยายามทำความเข้าใจตอนพี่ๆอธิบาย แต่บางทีไม่ได้สนใจฟังเท่าที่ควร
เพื่อน : เพื่อนๆ บางคนสนใจเรื่องกล้องสามมิติ บางคนสนใจ Project Approach
อาจารย์ : แนะนำภาพรวมของกิจกรรม

Vocabulary (คำศัพท์)
    การสอนแบบโครงการ   Project Approach
    นิทรรศการ                   Exhibition
    ดอกดาวเรือง               Marigold
    การสาธิต                    Demonstration
    เศรษฐกิจพอเพียง        Sufficient economy
    ความสมดุล                 Balance
    การเปลี่ยนแปลง          Change


วันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560

Learning Log 8

Learning Log 8


Learning Log  8
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 3 ตุลาคม 2560

Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

               อาจารย์ได้ตรวจบล็อกของเพื่อนทุกคน พร้อมทั้งแนะนำข้อแก้ไข้และแนะนำว่าควรปรับปรุงตรงไหนบ้างรายบุคคล 

เพื่อนนำเสนอวิจัยเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยจุดมุ่งหมายของวิจัยนี้คือ เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และทำวิจัยกับเด็กอนุบาล 3 จำนวน 15 คน
   ทักษะที่ทำการวัดมีอยู่ด้วยกัน 4 ทักษะ โดยผ่านกิจกรรม "การเกิดสีของดอกไม้"
   ทักษะการสังเกต
         -ส่วนต่างๆของดอกไม้
   ทักษะการจำแนกประเภท
        - แยกประเภทของดอกไม้
   ทักษะการหามิติสัมพันธ์
        -บอกรูปร่าง รูปทรง และขนาดของดอกไม้ชนิดต่างๆได้
    ทักษะการลงความเห็นข้อมูล
        -สรุปผลการทดลองได้

 มิติสัมพันธ์คือ การหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งนั้นกับปัญหาที่เราตั้ง

งานวิจัยชิ้นนี้มีการออกแบบแบบประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิประเมินว่าแผนที่จัดขึ้นสอดคล้องกับการประเมินทักษะทางวิทยาศาสตร์หรือไม่



วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
1.ทักษะการสังเกต (Observe)
  ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการรับรู้
  เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเกี่ยวกับเปลี่ยนแปลง
2.ทักษะการวัด (Measuring)
   การใช้เครื่องมือวัดปริมาณออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอน
      จะวัดอะไร → วัดทำไม → ใช้เครื่องมืออะไรวัด → วัดอย่างไร
3.ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying)
   เลือกใช้เกณฑ์ในการจำแนก
3.1 ความเหมือน    3.2 ความแตกต่าง   3.3 ความสัมพันธ์
4.ทักษะการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับเวลา (Time relationship)
   ความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่างๆที่เกี่ยวกับสถานที่ รูปทรง ทิศทาง เวลา
5.ทักษะการคำนวณและการใช้จำนวน (Using numbers)
   การเอาจํานวนที่ได้จากการวัด การสังเกต และการทดลอง มาจัดกระทําให้เกิดค่าใหม่
6.ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล (Communicating)
   การนําเอาข้อมูล ซึ่งได้มาจากการสังเกต การทดลองมากระทําใหม่
7.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring)
   ความชำนาญในการอธิบายสิ่งที่เห็น
8.ทักษะการพยากรณ์ (Predicting)
   การคาดคะเนหาคําตอบล่วงหน้าก่อนการทดลองโดยอาศัยข้อมูลที่ได้
9. ทักษะการตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis)
    การคิดหาค่าคําตอบล่วงหน้าก่อนจะทําการทดลอง
10.ทักษะการกําหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Operational Definition)
     การกําหนดความหมาย และขอบเขตของคําต่างๆ ที่มีอย่ในสมมติฐานที่จะทดลองให้มีความรัดกุม เป็นที่เข้าใจตรงกันและสามารถสังเกตและวัดได้
11.ทักษะการควบคุมตัวแปร (Controlling Variables)
     การควบคุมสิ่งอื่นๆนอกเหนือจากตัวแปรอิสระ ที่จะทําให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อน
12.ทักษะการทดลอง  (Experimenting)
     กระบวนการปฏิบัติการโดยใช้ทักษะต่างๆมาใช้ร่วมกันเพื่อหาคําตอบ หรือทดลองสมมุติฐานที่ตั้งไว้
13.ทักษะการตีความและลงข้อสรุป (Interpreting data)
    ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ส่ วนใหญ่จะอย่ในรูปของลักษณะตาราง การนําข้อมูลไปใช้ จึงจําเป็นต้องตีความให้สะดวกที่จะสื่อความหมายได้ถูกต้องและเข้าใจตรงกัน




สรุป VCD วิทยาศาสตร์แสนสนุก ชุดความลับของแสง
   แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งทีี่วิิ่งเร็วมากและเดินทางเป็นเส้นตรง เราสามารถเห็นวัตถุรอบๆได้เพราะแสงส่องสะท้อนกับวัตถุและกระทบที่ดวงตาของเรา
   -วัตถุโปร่งแสง แสงจะสามารถผ่านไปได้บางส่วน 
   -วัตถุโปร่งใส แสงทะลุผ่านจนสามารถมองเห็นวัตถุได้
   -วัตุทึบแสง แสงไม่สามารถผ่านไปได้เลย

ผลงานที่ทำในวันนี้

Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)
ทำให้ทราบว่าวิทยาศาสตร์นั้นเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา และสามารถเอาความรู้ที่ได้ในวันนี้มาปรับใช้ได้

Adoption (การนำไปใช้)
 กิจกรรมที่เราได้วาดรูป สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมของเด็กได้ซึ่งเด็กๆสามารถสร้างสรรค์ผลงานของตนเองและครูนำมาเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์ในเรื่องของแสง

Assessment (การประเมิน)
ตนเอง: เข้าเรียนตรงเวลา
อาจารย์: อาจารย์ให้นักศึกษาร่วมกันตกลงกติกาภายในห้องเรียน 
บรรยากาศ: เพื่อนทุกคนตั้งใจฟังอาจารย์

Vocabulary (คำศัพท์)
การจำแนกประเภท = Classifying
การสื่อความหมายข้อมูล = Communicating
การพยากรณ์ = Predicting
การทดลอง = Experimenting