วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

Learning Log 15

Learning Log 15


Learning Log 15
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน 2560

Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
อาจารย์ตรวจคลิปการทดลอง พร้อมให้แนะนำเกี่ยวกับคลิปการทดลองของแต่ละคน
สีเต้นระบำ - เป็นการทดลองที่น้ำยาล้างจานจะทำปฏิกิริยากับไขมันในนมทำให้สีเกิดการกระจายตัว
เมล็ดพืชเต้นรำ - เป็นการทดลองเกี่ยวกับการเกิดก๊าซคาร์บอนไซด์ เกร็ดความรู้ของการทดลองนี้คือ ถ้าใส่เมล็ดพืชชนิดอื่นเช่น ถั่วเขียวลงในโซดาจะเกิดปฏิกิริยากับโซดาน้อยกว่าเม็ดแมงลักเพราะ เมล็ดถั่วเขียวมีน้ำหนักมากกว่า
หมุดลอยน้ำ - แรงตึงผิวของน้ำสามารถรองรับน้ำหนักของเข็มหมุดได้ แต่ถ้าวางเข็มหมุดในลักษณะเอียง จะทำให้น้ำเข้าไปและทำให้เข็มหมุดจมลง เป็นหลักการเดียวกันกับเรือเพราะเรือมีช่องโปร่งตรงกลางเรือและส่วนอื่นเป็นโครงเหล็ก เรือจึงสามารถลอยน้ำได้ แต่ถ้าเรือเอียงน้ำก็จะเข้าไปและจมลง
การละลาย - เกลือจะละลายน้ำและเกิดการอิ่มตัวจึงทำให้ปริมาณน้ำไม่เพิ่มขึ้น แต่เมื่อใส่ทรายไปแทนที่น้ำจะทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้น และเมื่อลองน้ำเกลือไปรนไฟจะเกิดการผลึกของเกลือเพราะเกิดการระเหย
แสงเลี้ยวเบน - โดยปกติแสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง แต่เมื่อแสงเจอตัวกลางทำให้เกิดการหักเห และน้ำมีความหนักแน่นมากกว่าน้ำมันทำให้เกิดการหักเหน้อยกว่า




การทำcooking โดยบูรณาการเข้ากับSTEM และ STEAM
STEM
S=วิทยาศาสตร์ (Science)
T=เทคโนโลยี (Technolgy)
E=การออกแบบ (Engineering)
M=คณิตศาสตร์(Math)
STEAM
S=วิทยาศาสตร์ (Science)
T=เทคโนโลยี (Technolgy)
E=การออกแบบ (Engineering)
A=ศิลปะ (Art)
M=คณิตศาสตร์(Math)

ขั้นตอนที่ 1 ออกแบบ(Engineering) เกี๊ยวทอดของแต่ละคน จากนั้นให้ภายในกลุ่มเลือกว่าจะทำเกี๊ยวตามรูปแบบของใคร



ขั้นตอนที่ 2 ตักวัตถุดิบตามที่แต่ละกลุ่มได้ตั้งไว้เช่น หมูคนละ 1 ช้อน มี 4 คนตัก 4 ช้อน แครอท 1 ช้อน วุ้นเส้น 1 ช้อน ไส้กรอก 1 ช้อน แผ่นเกี๊ยว 10 แผ่น (Math)


ขั้นตอนที่ 3 ห่อเกี๊ยวตามที่แต่ละกลุ่มได้ออกแบบไว้
ขั้นตอนที่ 4 ครูดำเนินขั้นตอนแบบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์(Science) โดยการตั้งประเด็นปัญหาให้กับเด็ก ตั้งสมติฐาน เริ่มวิธีการทำ และสรุป


Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)
STEM คือ การศึกษาแบบบูรณาการและนำทักษะทางธรรมชาติในสาระวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน


Adoption (การนำไปใช้)

การจัดการเรียนรู้แบบ STEM ทำให้เด็กๆได้คิด ออกแบบ สังเกต ไปจนถึงการลงมือปฏิบัติทำให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอน เมื่อเด็กๆได้เรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบ STEM บ่อยๆจะเป็นทำให้เด็กมีประสบการณ์มากขึ้น ในอนาคตเด็กๆจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็สามารถทำได้เอง

Assessment (การประเมิน)

ตนเอง : ตั้งใจทำกิจกรรมและเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบ STEM
เพื่อน : ให้ความร่วมมือและแสดงความคิดเห็นช่วยกันออกแบบ
อาจารย์ : ให้คำแนะนำอยู่เสมอในขณะที่นักศึกษากำลังลงมือปฏิบัติ

Vocabulary (คำศัพท์)
การทอด = Frying
กระจายตัว = Disperse
ออกแบบ = Engineering



Learning Log 14

Learning Log 14


 Learning Log  14
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน 2560

Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
อาจารย์ตวจสอบแผนผังความคิดของแต่ละกลุ่ม และให้ความรู้ และข้อแก้ไข เพิ่มเติมเพื่อให้นักศึกษาได้นำไปปรับใช้ให้ถูกต้อง


ได้นำกลับมาแก้ไข้ปรับปรุงให้สมบูรณ์มากกว่าเดิม 

หน่วย  น้ำ
แบ่งหัวข้อได้ดังนี้
 1.ชนิดของน้ำ
 -น้ำจืด
 -น้ำเค็ม
 -น้ำกร่อย
 2.คุณสมบัติของน้ำ
 -น้ำบริสุทธิ์
 -น้ำไม่บริสุทธิ์
 3.การดูแลรักษาน้ำ
 -พัฒนาแหล่งน้ำ
 -ควบคุมมลพิษทางน้ำ
 -ใช้น้ำอย่างประหยัด
4.ประโยชน์ของน้ำ
-ใช้ในบ้านเรือน
-ใช้ในการเกษตร
-ใช้ในอุตสาหกรรม
-การคมนาคม
-พลังงาน
5.โทษของน้ำ
-น้ำท่วม
-น้ำสกปรก

นำสาระการเรียนรู้มาเชื่อมโยงกับกรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1. สิ่งมีชีวิตกับการดำรงชีวิต กระบวนการดำรงชีวิตของแต่ละหน่วย สามารถสังเกตสิ่งต่างๆเหล่านั้นได้
    เช่น Mindmap หมึก ไข่ ข้าว กล้วยคือธรรมชาติรอบตัว Mindmap น้ำ คือสิ่งต่างๆรอบตัว
2. ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม เด็กบอกได้ว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งมีชีวิตและสิ่งไหนไม่มีชีวิต
3. สารและสมบัติของสาร เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง เช่น การแปรรูป การประกอบอาหาร การเพาะขยายพันธุ์ และการทดลอง
4. แรงกับการเคลื่อนที่ คือ การทดลอง ตก จม ลอย ของสิ่งต่างๆ
5. พลังงาน คือการใช้พลังงานทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น พลังงานความร้อนทำให้ไข่สุกและกินได้
6. กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก คือแต่ละหน่วยเกี่ยวข้องอย่างไร
    เช่น อาจจะกระทบกับรายได้ อาชีพตัวอย่างเช่นการตกหมึกจะต้องอาศัยเวลากลางคืน ถ้าอยากตกหมึกได้เยอะๆอาจจะต้องอาศัยฤดูกาลที่มีกลางคืนยาวนานกว่ากลางวัน
7. ดาราศาสตร์และอวกาศ เกี่ยวกับกลางวันกลางคืน
8. ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือเกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่จะต้องมี
    - คำถาม
    - สมมติฐาน
    - การทดลอง
    - สรุปผล
    - ย้อนกลับไปดูสมมติฐาน
    - รายงานผล/นำเสนอ

Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)

ได้เรียนรู้การเขียนรายละเอียดเรื่องหน่วยที่ถูกต้อง ซึ่งทำให้รู้ว่าจะสอนเด็กในเรื่องอะไรและทุกเรื่องจะสัมพันธ์กับกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

Adoption (การนำไปใช้)
การวางแผนด้วยแผนผังความคิดทำให้ง่ายต่อการเชื่อมโยงกับกรอบมาตรฐาน และหน่วยการเรียนรู้ต่างๆไม่จำเป็นจะต้องสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานทั้งหมด

Assessment (การประเมิน)

 เพื่อน:หลายกลุ่มช่วยกันทำงาน  ช่วยการคิด และปรับใช่ตามที่อาจารย์เพิ่มเติมมาให้ได้
ตนเอง: ช่วยทำงานกลุ่มของตนเอง
อาจารย์: อาจารย์ได้แนะนำและให้แนวทางในการทำงานชิ้นนี้ได้ละเอียดและเข้าใจมากกว่าเดิมจากสัปดาห์ที่แล้ว  มีการยกตัวอย่างประกอบให้นักศึกษาเข้าใขง่าย


Vocabulary (คำศัพท์)
ข้อควรระวัง = notice 
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม = Life with the environment  


Learning Log 13

Learning Log 13


Learning Log  13
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน 2560

Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
วันนี้อาจารย์ได้แบ่งกลุ่ม 4-5 คน งานที่ได้รับมอบหมายให้ทำคือ ทำแผนผังความคิด(My Mapping) โดยเรื่องที่จะนำมาเขียนนั้นจะต้องเป็นหน่วยที่เด็กๆสนใจที่จะเรียน เป็นหน่วยที่โรงเรียนนำมาสอนเด็ก เมื่อเลือกเรื่องได้แล้วนำมาแยกออกเป็น4หรือ5หัวข้อ
1.มีชนิด/ประเภทอะไรบ้าง
2.มีลักษณะอะไรบ้าง
3.การดำรงชีวิต (สิ่งมีชีวิต) / การดูและรักษา (สิ่งไม่มีชีวิต)
4.ประโยชน์และโทษ
5.การดูแลรักษา 
<<โดยกลุ่มของดิฉันเลือกเรื่องน้ำ>>


Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)
การที่เลือกทำเรื่องน้ำ ทำให้เข้าใจในเรื่องของน้ำมากยิ่งขึ้น และทำให้เกิดความหวงแหนและอยากดูแลรักษาน้ำมากยิ่งขึ้น

Adoption (การนำไปใช้)
การทำแผนผังนั้นเป็นกระบวนการวางแผนอย่างเป็นระบบเพื่อง่ายต่อการหาข้อมูล และการสอนเด็กๆให้เกิดการเรียนู้อย่างเป็นขั้นตอน

Vocabulary (คำศัพท์)
ลักษณะ = Nature 
ประโยชน์ = Benefit
การดูแลรักษา = 
Treatment




Learning Log 12

Learning Log 12


Learning Log  12
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 31 ตุลาคม 2560

Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

   วันนี้อาจารย์ได้ทำการตรวจบล็อก พร้อมทั้งตรวจVDOการทดลองวิทยาศาสตร์ มีการทำความเข้าใจร่วมกันในเรื่องของปีญหาที่พบในการทำการทดลองวิทยาศาสตร์ อาจารย์ได้ให้ข้อแนะนำและข้อควรปรับปรุงต่างๆ เพื่อที่เราจะได้นำมาเพิ่มเติมหรือปรับปรุงVDOการทดลองวิทยาศาสตร์
อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ทำแผนผังความคิดของกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย

สาระที่ควรเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546
1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
3.ธรรมชาติรอบตัว
4.สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแบ่งเป็น 8 สาระ
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
สาระที่ 5 พลังงาน
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)
สาระที่ควรเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ซึ่งได้แก่ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องราวเกี่ยวกัับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่างๆรอบตัว โดยนำกรอบมาตรฐาน 8 สาระที่จำเป็นต้องเรียนรู้ในชั้นประถม มาบูรณาการการเรียนรู้เพื่อให้นำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Adoption (การนำไปใช้)
สาระที่ควรเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมีความสำคัญสำหรับการนำไปใช้ในกระบวนการการเรียนการสอนในวิชาวิทยาสาสตร์อย่างมากเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้กับเด็ก

Assessment (การประเมิน)
ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา เมื่อไม่เข้าใครหรือสงสัยจะยกมือถาม
เพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจในเรื่องคำแนะนำการทำมายแมพ
อาจารย์ : ให้คำแนะนำเรื่องการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

Vocabulary (คำศัพท์)
ธรรมชาติ = Nature
อวกาศ = Space
พลังงาน = Energy
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ = Scientific  process
สมบัติของสาร = Properties of substances