วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560

Research



ดูเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.tci-thaijo.org/index.php/JGNRU/article/download/29364/25234


ผลการจัดประสบการณ์แบบวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย


Teaching Examples




สนใจเนื้อหาสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ : https://youtu.be/3BCDiY4vkok




       เป็นตัวอย่างการสอนที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากคุณครูหนูมีเทคนิกการสอนที่ทำให้เด็กๆสนใจ ไม่เบื่อแล้ว ยังสอดแทรกเรื่องราวของวิทยาศาสตร์ที่สนุกเข้าไปอีกด้วย




Article


“บ้านแห่งอนาคต” วันนักวิทยาศาสตร์น้อยของเด็กปฐมวัย


สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้จัดงานวันวิทยาศาสตร์น้อย 2560 ในหัวข้อ “บ้านแห่งอนาคต” ให้แก่ศึกษานิเทศก์ ครูปฐมวัย นักเรียนชั้นอนุบาล ผู้ปกครอง และผู้สนใจทั่วไป ที่อยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2560

ดร. พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้วิทยากรเครือข่ายท้องถิ่นได้จัดกิจกรรมนอกห้องเรียน นอกจากนี้นักเรียนชั้นอนุบาล และผู้ปกครองที่ เข้าร่วมงานจะได้รับความรู้ ประสบการณ์ผ่านการทำกิจกรรม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของชีวิตในอนาคต เป็นการปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตลอดจนมีความรู้และทักษะชีวิตที่สามารถนำไปใช้ในอนาคตต่อไป

กิจกรรมที่จัดขึ้นภายในงาน รวมทั้งหมด มี 4 ฐาน ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 อนาคตที่ปลอดภัย กิจกรรมที่ 2 บ้านแห่งอนาคต กิจกรรมที่ 3 ยานพาหนะในอนาคต และกิจกรรมที่ 4 ผู้พิทักษ์โลกอนาคต

กิจกรรมที่ 1 อนาคตที่ปลอดภัย เด็กได้สังเกตและจัดกลุ่มบัตรภาพสิ่งของต่าง ๆ พร้อมเหตุผล ครูและเด็กอภิปรายร่วมกันถึงลักษณะและการใช้งานของสิ่งของต่าง ๆ จากนั้นให้เด็กจัดกลุ่มบัตรภาพสิ่งของอีกครั้งตามเกณฑ์ที่ครูกำหนด ได้แก่ กลุ่มที่เป็นอันตรายและไม่เป็นอันตราย ครูแสดงบัตรภาพปืนและระเบิด (ของจริงและของเล่น) พร้อมพูดคุยถึงอันตรายและข้อห้ามว่าไม่ควรหยิบหรือจับมาเล่น แม้จะเป็นของเล่นก็ไม่ควรนำมาเล่น เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ ทั้งนี้ต้องอยู่ในความดูแลของผู้ใหญ่

จากนั้นครูแสดงบทบาทสมมติเมื่อเจอสถานการณ์ต่าง ๆ และเสนอทางเลือกให้เด็กเลือกตัดสินใจโดยใช้บัตรภาพแสดงสถานการณ์เมื่อพบสิ่งของที่มีอันตราย หรือวัตถุต้องสงสัย เมื่อเจอเหตุการณ์ระเบิดแล้วเกิดไฟไหม้ เมื่อเด็กไปใกล้แหล่งน้ำ






เพิ่มคำอธิบายภาพ



กิจกรรมที่ 2 บ้านแห่งอนาคต เด็กเล่นต่อภาพส่วนประกอบของบ้าน (ตัวบ้าน, หลังคา, ประตู, หน้าต่าง) จากนั้นสนทนาถึงส่วนประกอบหลัก ของบ้าน ตัวแทนเด็กออกมาเล่าเกี่ยวกับบ้านของตนเอง (บ้านเป็นแบบไหน มีส่วนประกอบอะไรบ้าง มีห้องอะไรบ้าง มีสมาชิกกี่คน บ้านอยู่ใกล้อะไร) ดูภาพบ้านประเภทต่าง ๆ ทีละภาพ จากนั้นสนทนาร่วมกันถึงลักษณะและชื่อเรียกของบ้านประเภทต่างๆ (บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ คอนโด เรือนแพ รถบ้าน บ้านอิกลู) ครูชักชวนให้เด็กวาดภาพบ้านในอนาคตของตนเองว่า บ้านในอนาคตของเด็ก ๆ จะมีลักษณะเป็นอย่างไร

เมื่อเด็กวาดภาพเสร็จ ได้นำภาพบ้านของตนเองมาจัดแสดงและนำเสนอผลงาน โดยผู้ดูแลประจำกลุ่มชักชวนเด็กสนทนาในประเด็นดังนี้ ใครสร้างบ้านแบบไหนบ้าง มีลักษณะเป็นแบบใด -มีสมาชิกอยู่กี่คน ใครบ้าง บ้านของตนเองอยู่ตรงไหน ใกล้อะไร ด้านหน้า/ด้านข้าง/ด้านหลังเป็นอะไร แล้ว เก็บของและร่วมกันสนทนาสรุปสิ่งที่ทำ





กิจกรรมที่ 3 ยานพาหนะในอนาคต ครูให้เด็กสังเกตบัตรภาพยานพาหนะในอดีตถึงปัจจุบัน และสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับลักษณะและการเคลื่อนที่ของยานพานะแต่ละชนิด (เครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ รถมอเตอร์ไซค์ รถยนต์ รถบรรทุก รถสามล้อถีบ รถสามล้อ รถไฟ เรือหางยาว เรือสปีดโบต เรือแจว) ครูชวนเด็กสนทนาเกี่ยวกับยานพาหนะในอนาคตของตนเองว่า ยานพาหนะอนาคตของเด็กๆ จะมีลักษณะเป็นอย่างไร จากนั้น เด็กประดิษฐ์ยานพาหนะในอนาคตของตนเองจากวัสดุที่เตรียมไว้ และมีตัวแทนเด็กนำเสนอยานพาหนะในอนาคตของตนเองในประเด็นดังนี้ ยานพาหนะชนิดใด ใช้งานที่ใด (บนบก ในน้ำบนฟ้า) ส่วนประกอบของยานพาหนะ แล้วเก็บของและร่วมกันสนทนาสรุปสิ่งที่ทำ




กิจกรรมที่ 4 ผู้พิทักษ์โลกอนาคต ครูสนทนากับเด็กถึงสภาพอากาศรอบตัว โดยใช้คำถาม เช่น อากาศวันนี้เป็นอย่างไร เด็ก ๆ ชอบอากาศร้อนหรืออากาศเย็น ครูเล่าเรื่องจากบัตรภาพเกี่ยวกับโลกร้อนให้เด็กฟัง จากนั้นครูและเด็กร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับสิ่งที่จะตามมาในอนาคตถ้าโลกร้อน ให้เด็ก ๆ สังเกต เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างบริเวณที่มีต้นไม้กับไม่มีต้นไม้ เชื่อมโยงลักษณะของบริเวณที่มีต้นไม้กับไม่มีต้นไม้ และร่วมกันสนทนาในประเด็นวิธีช่วยลดโลกร้อน ต้นไม้กับการลดโลกร้อน จากนั้นครูชวนเด็กปลูกต้นไม้ของตนเอง คนละ 1 ต้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดโลกร้อน




ครูชไมพร ทองเจือเพชร ครูโรงเรียนวัดอ่างทอง จ.สงขลา กล่าวว่า กิจกรรมนี้ทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในด้านวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันที่ทันสมัย สามารถทำให้นักเรียนปฐมวัยสนใจและชอบเรียนรู้อย่างสนุก เมื่อสองปีที่ผ่านมาครูเคยเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยของ สสวท. ซึ่งได้จัดอบรมด้านวิทยาศาสตร์แก่ครูเพื่อที่จะนำความรู้ไปสอนนักเรียนปฐมวัย



“นักเรียนวัยอนุบาลได้เข้าร่วมและเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่จัดขึ้นในฐานต่าง ๆ อย่างสนุกสนาน โดยตัวกิจกรรมได้กระตุ้นให้เด็กสนใจ ลงมือทำด้วยตัวเอง เด็กชอบมาก และกล้าที่จะแสดงออก แสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม โดยครูจะนำกิจกรรมหรือความรู้จากแต่ละฐานไปใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยแบบบูรณาการต่อไป ซึ่งได้เทคนิคจากการเข้าร่วมกิจกรรมวันนี้ คือ เข้าใจเด็ก รู้พื้นฐาน ต้องเรียนรู้เด็ก สังเกตเด็กๆ ซึ่งเด็กๆในวัยนี้ มีความอยากรู้อยากเห็นและไฝ่รู้อยู่แล้ว”


ครูส้อฝียะ เบ็ญมุสา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบ่อแพ จ.สงขลา เล่าว่า เนื่องจากได้เห็นถึงความสำคัญของเด็กๆ ในอนาคตที่จะเติบโตในวันข้างหน้า จึงได้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ คิดว่าเป็นโครงการที่ดี สำหรับครูที่จะได้นำความรู้ไปใช้จัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย และส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ จากชีวิตประจำวันด้วย พบว่า เด็กมีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรมและสนุกสนาน




“กิจกรรมทุกฐานที่ได้จัดขึ้นมีความสำคัญ โดยเฉพาะฐานผู้พิทักษ์โลกอนาคต ทำให้เด็กได้เรียนรู้ว่าโลกร้อนเป็นอย่างไร รู้วิธีการพิทักษ์อนุรักษ์โลก แ ซึ่งคุณครูจะนำความรู้ครั้งนี้ไปปรับใช้กับการเรียนการสอน แนะนำถึงการอนุรักษ์โลก เรียนรู้โลกในอนาคต บ้านในอนาคต การรักษายานพาหนะของตัวเองด้วย เทคนิคการสอนนักเรียนปฐมวัย ที่ได้คือ โดยจัดนักเรียนให้เป็นกลุ่มในการทำกิจกรรม มีการปฏิบัติจริงและได้นำความรู้ไปใช้ในครอบครัวได้ เช่นการปลูกต้นไม้สามารถปลูกในกระถางได้ หากไม่มีพื้นที่เพียงพอในการปลูก”

ครูปราณี สุวรรณประดิษฐุ์ โรงเเรียนสุคิริน จ.นราธิวาส เล่าว่า ก่อนหน้านี้เคยเข้าร่วมกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ที่ได้จัดขึ้นใน จ.นราธิวาส และที่ จ.สงขลา จุดเด่นจากการเข้าร่วมกิจกรรมนี้ คิดว่าสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ใช้ได้จริง อย่างเช่น ฐานแรกเรื่องอนาคตที่ปลอดภัย เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องอุปกรณ์ในครัวเรือน อันไหนที่เป็นอันตราย และวิธีหยิบจับที่ถูกต้อง




“หลังจากนี้ครูจะนำกิจกรรมหรือความรู้จากแต่ละฐานไปใช้ประโยชน์ต่อในการจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียน การจัดทำแผนการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้มากขึ้นในด้านวิทยาศาสตร์ เนื่องจากสามารถใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน โดยครูมีเทคนิคในการสอนนักเรียนปฐมวัย คือ ให้เรียนรู้ โดยผ่านการเล่น แล้วสอดแทรกความรู้ในการเล่น เด็กจะสามารถจำได้ดี และคิดว่าควรแนะนำให้เด็กนำวัสดุ อุปกรณ์ของใกล้ตัว เช่น กล่องนม สร้างสรรค์เป็นผลงานของตัวเองได้ คิดเองได้ว่าสามารถนำมาประดิษฐ์และทำอะไรได้บ้าง”



เด็กหญิงฟ้ารุ่ง ชัยรักษา (น้องฟ้า) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบ่อแพ อ.บางกล่ำ จ.สงขลา บอกว่าสนุกมากที่ได้มาเข้าร่วมกิจกรรม ได้เจอเพื่อนๆ ได้เล่นเกมสนุกๆ โดยน้องฟ้าชอบกิจกรรมผู้พิทักษ์โลกอนาคต ได้ปลูกต้นไม้ เนื่องจากต้นไม้สามารถเติบโตให้ร่มเงา บังแดดได้ และชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์มากที่สุด


เด็กหญิงมุกวารินทร์ รุ่งภิญโญ (น้องมุก) โรงเรียนเทศกบาล 1 (บ้านสะเดา) จ.สงขลา เล่าว่า วันนี้สนุกมาก ได้เล่นกิจกรรมกับเพื่อนๆ ชอบกิจกรรมบ้านแห่งอนาคต เนื่องจากมีบ้านแห่งอนาคตหลายอย่างหลายแบบ ได้วาดรูปบ้านแห่งอนาคต ที่ลดพลังงานได้ ได้เล่นเกม



เด็กหญิงชนัญธิดา พรหมเสนะ (น้องออกัส) ศูนย์เด็กเล็กค่ายเสนาณรงค์ - ทม.คอหงส์ จ.สงขลา กล่าวว่า ชอบกิจกรรมผู้พิทักษ์โลกอนาคต เพราะได้ปลูกต้นไม้ พิทักษ์โลกร้อน ต้นไม้สามารถให้ร่มเงาได้ ลดโลกร้อน ได้เรียนรู้วิธีการปลูกต้นไม้ โดยใส่ดินในกระถางก่อนนำต้นไม้มาปลูกและรดน้ำให้ต้นได้เจริญเติบโต สนุกมากได้เจอเพื่อน ได้เล่น

กิจกรรมนี้อยู่ภายใต้ โครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” เป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการนำร่องในประเทศไทย โดยได้ทอดพระเนตรตัวอย่างโครงการนี้ คราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศเยอรมนี เมื่อปีพ.ศ. 2552 คณะกรรมการโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย จึงได้ติดต่อกับมูลนิธิ Haus der kleinen Forscher โดยการประสานงานของ Mr. Thomas Tillmann เพื่อขออนุญาตนำกิจกรรมนี้มาทดลองทำในประเทศไทย บัดนี้ทั้งสองฝ่ายได้ทำความตกลงร่วมกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

โดยที่มาของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย มาจากการประเมินผลนานาชาติของโครงการ PISA พบว่า ความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทย ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย อีกทั้งยังขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่จะร่วมมือขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ งานวิจัยยืนยันว่า เราควรสร้างทัศนคติที่ดีด้านการเรียนรู้ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) เพราะเป็นช่วงอายุที่มีความสามารถในการเรียนรู้และจดจำมากที่สุด ซึ่งโครงการได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย